วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

Composition & Name of Die Casting Mold

Composition&Name of Die Casting Mold
1.Sprue Bush (ปลอกรูฉีด) เป็นส่วนที่สัมผัสโดยตรงระหว่างหัวฉีด (Nozzle) ของกระบอกฉีด(Injection Cylinder) กับแม่พิมพ์ รัศมีความโค้งของปลอกรูฉีดควรจะใหญ่กว่ารัศมีส่วนโค้งของหัวฉีด 1 mm. เพื่อให้น้ำโลหะไหลเข้าไปอยู่ในบริเวณผิวสัมผัสของผิวโค้งทั้งสองและเมื่อแข็งตัวจะทำให้การประกบระหว่างหัวฉีดและปลอกรูฉีดแนบสนิทยิ่งขึ้น จนไม่มีการรั่วของน้ำโลหะเมื่อฉีดด้วยแรงดันสูง
2.Locating Ring (แหวนประคอง) จะทำให้แม่พิมพ์วางแนวกับเครื่องฉีดได้อย่างถูกต้อง และจุดศูนย์กลางของหัวฉีดอยู่ตรงกับจุดศูนย์กลางของแม่พิมพ์
3.Leader pin&Leader pin bushing(สลักนำและปลอกนำ)อาจเรียกสลักนำอีกอย่างได้ว่า Guide bush และ Guide pin จะเป็นตัวนำเลื่อนส่วนเคลื่อนที่ของแม่พิมพ์และบังคับใ้ห้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง สลักนำมักจะติดอยู่กับส่วนที่อยู่กับที่ของแม่พิมพ์ (Fix die) ปลอกนำจะติดอยู่กับส่วนที่เคลื่อนที่ (Movable die) ทั้งปลอกนำและสลักนำจะมีส่วนต่อสั้นๆ (Heel) อยู่ถัดจากบ่าซึ่งบังคับให้แผ่นต่างๆ อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง จึงไม่จำเป็นต้องมีเดือย (Dowel pin) และยังช่วยรับแรงด้านข้างที่กระทำต่อแผ่นแม่พิมพ์ที่มี Sliding(Slide) Core
4.Tapered Interlock ช่วยรับแรงด้านข้างที่มากจน Leader pin&Leader pin bushing ไม่สามารถรับได้ หรือกรณีที่แม่พิมพ์หนักมาก
5.Angle pin Slide core ที่อยู่ในแม่พิมพ์จะเลื่อนโดยใช้ Angle pin ซึ่งประกอบเข้าในแม่พิมพ์โดยเอียงเป็นมุมเพื่อเลื่อน Slide core ให้ได้ระยะตามต้องการ และสัมพันธ์กับจังหวะเปิดแม่พิมพ์ มักใช้มุมของ Angle pin เป็น 15-25 องศา กรณีใช้ Angle pin ไปเลื่อน Slide core ตัวเลื่อนที่เป็น Core ต้องล็อคไว้ด้วย Core lock ที่มีผิวเอียง เพื่อรับแรงต้านจากการฉีด
6.Ejector pin และ Core pin เข็มกระทุ้งเป็นส่วนที่ต้องทนแรงกดที่จะทำให้เข็มงอโค้ง (Buckling) เนื่องจากมีความยาวและค่อนข้างเล็ก อีกด้านหนึ่งต้องทนต่อการสึกหรอจากการเสียดสี โดยเฉพาะเมื่อเลื่อนไปมา จึงควรชุบแข็งแบบไนไตรน์(Nitrided), Trufftride หรือ Barrided ส่วน Core pin(สลักสำหรับทำรูที่ชิ้นงาน) มักทำจากเหล็กกล้าผ่านการชุบแข็ง 60-62 HRc หัวแข็ง 45+- 5HRc แกนแข็ง 50-55 HRc สำหรับสลักเคลื่อนที่ และ 45 HRc สำหรับสลักที่อยู่กับที่
7.Fixed Base Plate (or Front Clamp Plate)(แผ่นฐานอยู่กับที่หรือแผ่นยึดส่วนหน้า) ทำหน้าที่ยึดส่วนที่อยู่กับที่ของแม่พิมพ์เข้ากับหน้าแปลนด้านที่อยู่กับที่ของเครื่องฉีดได้สะดวกยิ่งขึ้น และต้องทนแรงดันซึ่งหัวฉีดกดปลอกรูฉีด(Nozzle pressure) และใช้เป็นแผ่นรองคาวิตี้ (Cavity Insert) ในแม่พิมพ์บางแบบ สามารถทำช่องหล่อเย็นในแผ่นยึด เพื่อหล่อเย็นแกนรูฉีด(Sprue)ที่ต้องการ Cycle timeสั้น หรือผลผลิตสูง
8.Fixed Cavity Plate (or Front Cavity Plate) (แผ่นคาวิตี้อยู่กับที่หรือแผ่นยึดส่วนหน้า) เป็นแผ่นที่ใช้ประกอบส่วนคาวิตี้ (Cavity insert) เจาะช่องน้ำหล่อเย็น และต่อสายยางสำหรับน้ำหล่อเย็นในแม่พิมพ์ที่อยู่กับที่
9.Moving Base Plate or Rear Clamp Plate (แผ่นฐานเคลื่อนที่หรือแผ่นยึดส่วนหลัง) จะทำหน้าที่เหมือนแผ่นยึดส่วนหน้า (Fixed base plate) มีรูที่ศูนย์กลางเพื่อให้แกนกระทุ้ง (Ejector rod)ลอดเข้าไปทำให้มีการเคลื่อนที่ปลดชิ้นงาน
10.Space(ตัวเว้นระยะ) โดยทั่วไปจะมีอยู่ 2 ชิ้นประกอบที่ Movable die เพื่อให้มีีที่สำหรับการเลื่อนของเข็มกระทุ้ง ความสูงจะขึ้นอยู่กับช่วงความยาวของการปลดชิ้นงาน (Ejector-stroke) บวกกับขนาดแผ่นจับเข็มกระทุ้ง (Ejector holder) และแผ่นรอง (Ejector back plate) และหัวของ Stop button ที่โผล่ออกมา
11.Support Pillar(เสาค้ำ) เป็นส่วนที่ป้องกันการแอ่นตัวของแผ่นรองแม่พิมพ์
12.Ejector Holder&Back Plate with stop button (แผ่นยึดเข็มกระทุ้งและแผ่นรองพร้อมด้วย Stop button) แผ่นยึดจะทำให้เข็มกระทุ้งอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง และเคลื่อนที่ไปกลับได้อย่างคล่องตัว การประกอบเขมกับแผ่นจะค่อนข้างหลวมเพื่อเผื่อการปรับหากเยื้องศูนย์ระหว่างเข็มกับรูที่ Cavity หรือ Core
13.Clamp Plate or Cavity Back Plate(แผ่นประกบหรือแผ่นรองส่วน Cavity) ขนาดของแผ่นประกบต้องหนาพอที่จะทนต่อแรงดัด ซึ่งเกิดในระหว่างการฉีด
14.Rear Cavity, Plate or Moving Cavity Plate or Core Plate (แผ่น Cavity ส่วนหลังหรือCavity เคลื่อนที่หรือแผ่น Core) ใช้ใส่ส่วน Cavity Insert หรือ Core-Insert ส่วนมากมีช่องน้ำหล่อเย็นอยู่เสมอ
15.Gate เป็นส่วนที่สำคัญซึ่งมีผลต่อการปลดชิ้นงานและงานปราศจากข้อบกพร่อง Gate ที่ดีจะทำให้น้ำโลหะไหลเข้าแม่พิมพ์อย่างรวดเร็ว ด้วยเส้นทางการไหลที่สั้นโดยมีการสูญเสียความร้อนและแรงดันน้อยที่สุด และควรไหลไปถึงปลายททางทุกแห่งของ Cavity ในเวลาไล่เลี่ยกัน
16.Runner เป็นส่วนที่เชื่อมโยง Sprue เข้ากับ Cavity โดยผ่าน Gate เพื่อจ่ายน้ำโลหะเข้าสู่ทุก Cavity ในเวลาเดียวกันภายใต้แรงดันเท่ากัน หน้าที่ของRunner และความต้องการมีดังนี้
-การไหลเข้าเต็ม Cavity โดยมี Weld line น้อยที่สุด
-มีสิ่งกีดขวางการไหลน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
-เป็นสัดส่วนของน้ำหนักรวมน้อยที่สุด
-ปลดชิ้นงานได้ง่าย
-ไม่มีผลกระทบต่อรูปร่าง
-ความยาวน้อยสุดเท่าที่จะทำได้เพื่อให้การสูญเสียแรงดัน อุณหภูมิและเนื้อวัสดุน้อยที่สุด
-ขนาดหน้าตัดทำให้เวลาการแข็งตัวเท่ากับหรือมากกว่าของชิ้นงาน เพื่อให้มีแรงดันตามจนกว่าชิ้นงานจะกลายเป็นของแข็ง
-ระบบ Runner ควรมีผลกระทบต่อรอบเวลาฉีดน้อยที่สุดหรือไม่มีผลเลย
-ให้ Gate เข้าส่วนหน้าตัดหนาสุด
-วางตำแหน่งหรือออกแบบ Gate จนกระทั่งไม่เกิด Jetting
17.Stopper(ตัวหยุด) ใช้จำกัดระยะเลื่อนของชุดกระทุ้งในระหว่างปลดชิ้นงาน
18.Return Pin(เข็มกระทุ้งกลับ) ทำให้ชุดกระทุ้งกลับสู่ตำแหน่งเริ่มต้นโดยเข็มไม่เสียหายจากส่วนของแม่พิมพ์ที่อยู่ตรงข้าม
19.Chill Vent (ร่องที่ระบายอากาศ) อากาศจะวิ่งออกจากรูที่ผ่านมาเป็นร่องฟัน สามารถระบายอากาศออกจากชิ้นงานได้เป็นอย่างดี
20.Air Vent รูระบายอากาศ ลักษณะจะแตกต่างจาก Chill vent ตรงที่ Air vent มักจะอยู่ส่วนบนของชิ้นงาน ส่วน Chill vent มักจะอยู่แนวขนานกับชิ้นงานทางด้านข้างชิ้นงาน
21.Over Flow เป็นส่วนน้ำล้นของอะลูมิเนียมที่ไหลเกินมาจากแบบเพื่อให้น้ำโลหะไหลได้เต็มแบบ
22.Flush-Proof Plate ใช้ป้องกันน้ำอะลูมิเนียมทะลักออกมาจากแม่พิมพ์
23.Forware Stopper of Ejector Plate ตัวหยุดหรือตัวจำกัดระยะการเลื่อนไปข้างหน้าของชุดปลดชิ้นงานเพื่อปลดชิ้นงานออกจากแม่พิมพ์
24.Backward Stopper of Ejector Plate ตัวหยุดหรือตัวจำกัดระยะการเลื่อนกลับของชุดปลดชิ้นงาน