วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

มูลเหตุและแนวทางแก้ไขข้อบกพร่องของชิ้นงาน

1. Manufacturing Mistake สาเหตุเกิดจาก
1.1 Mistake of drawing dimension ความผิดพลาดจากการให้ขนาดแบบแม่พิมพ์ แนวทางการป้องกันความผิดพลาดจากการให้ขนาดแบบแม่พิมพ์ จำเป็นจะต้องสร้างระบบในการตรวจสอบแบบแม่พิมพ์ให้เป็นที่ยอมรับได้ เช่น ตรวจสอบจุดสำคัญจุดใดบ้าง จุดรองอื่นๆ ภายในแบบแม่พิมพ์ เป็นต้น และสร้างระบบควบคุมแบบแม่พิมพ์ให้สามารถตรวจสอบได้อย่างแม่นยำ
1.2 Clumsy die dimension check ตรวจสอบขนาดแม่พิมพ์ผิดพลาด แนวทางการป้องกันกรณีนี้จะต้องทำการตรวจสอบขนาดของแม่พิมพ์ว่าได้ขนาดตามที่กำหนดไว้หรือไม่ ส่วนประกอบของแม่พิมพ์ครบทุกส่วนและอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งการตรวจสอบเหล่านี้จะต้องทำการตรวจสอบก่อนการนำแม่พิมพ์มาทดลองฉีด เมื่อตรวจสอบครั้งแรกในตอนรับแม่พิมพ์จากผู้ผลิต จำเป็นจะต้องตรวจสอบอีกครั้งก่อนขึ้นเครื่องฉีด เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากแม่พิมพ์ที่ไม่สมบูรณ์
1.3 Mistake on die repair ความผิดพลาดเนื่องจากการซ่อมแซมแม่พิมพ์ แนวทางการป้องกันปัญหาจากการซ่อมแม่พิมพ์ ให้ทำการยืนยันการซ่อมแม่พิมพ์ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบว่าการแก้ไขนั้นทำได้ตรงจุดที่เกิดปัญหาจริงๆ และตรวจสอบส่วนที่ซ่อมแซมอีกครั้งหลังการซ่อมเสร็จก่อนขึ้นเครื่องฉีด เมื่อทดลองฉีดหลังการซ่อมแม่พิมพ์แล้วให้ทำการตรวจสอบส่วนที่ถูกซ่อมแซมอีกครั้งหลังการทดลองฉีด เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาเก่าซ้ำ
2. Dimensional error (ขนาดผิดพลาด) สาเหตุและวิธีแก้ไข
2.1 Die or die assembling is out of order การสร้างแม่พิมพ์และการประกอบแม่พิมพ์ไม่เป็นไปตามแบบสั่งทำที่กำหนด มีขั้นตอนการแก้ไขดังนี้
- ตรวจสอบเงื่อนไขของการประกอบแม่พิมพ์ ถ้าเกิดความผิดพลาดในการปฏิบัติตามให้แก้ไขใหม่
- ตรวจสอบว่า Bolts หลวมหรือไม่ แล้วทำให้แน่นขึ้นถ้าหลวม
- ตรวจสอบความเรียบของ Cavity Insert และส่วนของแม่พิมพ์หลัก ถ้าไม่สมบูรณ์ในส่วนใดให้ทำการแก้ไขทันที
- ตรวจสอบผิวแม่พิมพ์และช่องว่างที่เกิดระหว่างแม่พิมพ์หลักและ Cavity Insert ถ้ามีช่องว่างให้ทำการแก้ไขใหม่
2.2 Bent of cored pins (Cored pins โค้งงอ) วิธีแก้ไข
- ตรวจสอบความโค้งงอของ pins เมื่อทำการซ่อมแม่พิมพ์ แล้วทำการแก้ไขหรือเปลี่ยนใหม่หากเกิดการโค้งงอ
- ให้ความร้อนกับแม่พิมพ์ก่อนตามมาตรฐานและเงื่อนไขในการฉีดแม่พิมพ์อะลูมิเนียม
- เปลี่ยนการออกแบบทางเข้า(Gate)
- เปลี่ยนระบบหล่อเย็นที่ Core pins(ภายในและภายนอกการฉีดอะลูมิเนียม)
- พิจารณาการหดตัวของชิ้นงานฉีดแล้วเกิดการเปลี่ยนรูป
- เปลี่ยนวัสดุหรือความแข็งแรงของ Core pins
2.3 Abrasion of die รอยสึกหรอของแม่พิมพ์ วิธีแก้ไข
- ซ่อมแซมแก้ไขบางส่วนของแม่พิมพ์ที่เกิดการสึกกร่อน
- เปลี่ยนตำแหน่ง Gate ,โครงสร้างแม่พิมพ์ หรือออกแบบ Gate ใหม่
- เปลี่ยนวัสดุและความแข็งของวัสดุทำแม่พิมพ์
2.4 Dimension change by shrinkage เปลี่ยนขนาดแม่พิมพ์เนื่องจากการเกิด Shrinkage วิธีการแก้ไข
- ตรวจสอบข้อกำหนด เช่น อุณหภูมิของน้ำโลหะ รอบเวลาการฉีด เวลาในการฉีด อุณหภูมิแม่พิมพ์และเงื่อนไขในการหล่อเย็นแ่ม่พิมพ์ตามค่ามาตรฐาน
- ตรวจสอบส่วนประกอบทางเคมีของโลหะหลอมเหลวแล้วค่อยปรับเมื่อเกิดปัญหา
- ถ้าชิ้นงานหดตัวเนื่องจากมีความร้อนสูงเกินไปให้เปลี่ยนวิธีการหล่อเย็นและตำแหน่ง Gateบางแห่ง
2.5 Lack of die strength ความแข็งแรงของแม่พิมพ์ไม่เพียงพอ วิธีการแก้ไข
- ศึกษาความแข็งแรงของแม่พิมพ์แล้วเสริมแรงถ้าความแข็งแรงของแม่พิมพ์ไม่เพียงพอ
- ศึกษาการออกแบบแม่พิมพ์แล้วเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดความแข็งแรงมากขึ้น
- ศึกษาวิธีการออกแบบงานฉีดแม่พิมพ์แล้วเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดความแข็งแรง
3. Mold Shift เกิดความเปลี่ยนแปลงในแม่พิมพ์ สาเหตุและวิธีการแก้ไข
3.1 Looseness of guide pin (Guide pin หลวม) วิธีการแก้ไข
- ตรวจสอบรอยสึกบริเวณ Guide pin และ Bush ถ้าระยะห่างระหว่างน้อยเกินไปไม่ได้ค่ามาตรฐานให้เปลี่ยนค่าเหล่านั้น
3.2 Mis-matching between insert cavity and main mold เกิดความไม่เหมาะสมระหว่าง Insert cavity และ main mold วิธีการแก้ไข
- ตรวจสอบระยะห่างระหว่าง Insert cavity และแม่พิมพ์ตัวหลัก ถ้าสังเกตุระยะห่างแล้วไม่พอดีให้แก้ไขใหม่
3.3 Mis-matching between slide core and rail เกิดความไม่เหมาะสมระหว่าง Slide core และรางของ Slide Core วิธีแก้ไข
- ตรวจสอบความพอดีระหว่าง Slide core กับราง Slide ถ้าสังเกตุแล้วไม่ดีให้แก้ไขใหม่
- ตรวจสอบความเหมาะสมระหว่าง Stopper และ Slide core ถ้าประกอบไม่พอดีให้แก้ไขใหม่
- ตรวจสอบสารหล่อลื่นที่ Guide pin และราง Slide
- ศึกษาวัสดุและความแข็งของรางเลื่อน Slide core บางส่วนแล้วแก้ไขมีมีส่วนผิดปกติ
3.4 Defect on die mouting ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในตำแหน่ง Die mounting วิธีแก้ไข
- ตรวจสอบความขนานที่ Die mounting แล้วแก้ไขหากพบความผิดพลาด
4. Mold open core back สาเหตุและวิธีแก้ไข
4.1 Incomplete die closing (Die ปิดไม่สนิท) วิธีการแก้ไข
- ตรวจสอบความพอดีระหว่าง Guide pin และ Bush ถ้าไม่พอดีให้ทำการแก้ไข
- ตรวจสอบความดันปิดแม่พิมพ์แล้วปรับถ้าปิดไม่ได้
- ทำความสะอาด Parting die และ Core บางส่วน แล้วทำการกำจัด Burr ถ้าตรวจสอบพบ
- ตรวจสอบความพอดีของแม่พิมพ์แล้วปรับดูส่วนที่เกิดจากการเชื่อมซึ่งมักเกิดความเหลื่อมจากการซ่อมแซมแม่พิมพ์ ส่วนที่มาจากการเจียระไน และการขัดเงา
- ปรับระยะห่างระหว่าง Slide core และ Guide rail
- ตรวจสอบรอยสึกของ Slide core และ Stopper แล้วทำการแก้ไข
- ปรับปรุงความดันฉีดโดยลดปริมาณความดันฉีดหรือใช้ Plunger sleeve ขนาดใหญ่ขึ้น
- ปรับความเร็วของ Plunger
การแก้ไขในสองข้อสุดท้ายต้องคำนึงว่าจะเกิดข้อบอพร่องอย่างอื่นตามมาหรือไม่ เช่น Flow line หรือ Misrun
5. Deformation การทำให้เสียรูป สาเหตุและวิธีแก้ไข
5.1 Rapid change of casting wall thickness เปลี่ยนความหนาผนังฉีดอย่างกระทันหัน วิธีการแก้ไข
- ปรับรูปร่างให้เหมาะสม โดยความหนาผนังคงที่หรือเปลี่ยนความหนาผนังให้ลาดลงทีละน้อย
5.2 Unbalanced shrinkage by stress concentration การหดตัวไม่ดีโดยเกิดจากจุดศูนย์รวมความเค้นที่ไม่ดี วิธีแก้ไข
- ตรวจสอบ Fillet และ รัศมีโค้งแล้วเปลี่ยนแปลงให้โตขึ้น
- ศึกษารูปร่างของงานหล่อแล้วปรับปรุงให้ดีขึ้น
- ปรับ Ribs ให้ค่าความเค้นกระจายออกอย่างคงที่
5.3 Undercut or insufficient polishing of die เกิด undercutหรือขัดแม่พิมพ์ไม่เพียงพอ วิธีการแก้ไข
- ตรวจสอบให้เอาส่วนที่เป็นมุมออกแล้วเปลี่ยนค่าถ้ามุมส่วนนั้นไม่ใช่ส่วนสำคัญในการประกอบ
- ขัดแม่พิมพ์แล้วย้ายจุดเพื่อเปลี่ยนไม่ให้เกิด undercut และง่ายต่อการปลดชิ้นงาน
5.4 Lack of ejecotor pin strength ความแ็ข็งแรงของสลักปลดชิ้นงานไม่เพียงพอ วิธีแก้ไข
- ใช้ Ejector pins ขนาดใหญ่ขึ้น
- เพิ่มจำนวน Ejector pins
5.5 Unsuitable ejection balance ระบบปลดชิ้นงานไม่สมดุล วิธีแก้ไข
- ศึกษาตำแหน่งของ Ejection pin ในคำสั่งทำชิ้นงานตัวอย่างแล้วเปลี่ยนตำแหน่ง Ejector pin หรือเพิ่ม Ejector pins
5.6 Unsuitable casting condition or gate design เกิดความไม่เหมาะสมในข้อกำหนดงานฉีดแม่พิมพ์อะลูมิเนียมหรือการออกแบบ Gate วิธีแก้ไข
- ทำตามข้อกำหนดมาตรฐานงานฉีด
- ปรับความดันฉีดและเพิ่มระบบหล่อเย็นเพื่อให้อุณหภูมิแม่พิมพ์ที่คงที่
- ศึกษาการออกแบบ Gate และเปลี่ยนแปลงความหนา Gate, ตำแหน่ง Gate, ตำแหน่งของโลหะที่ไหลเกิน และจำนวนที่มีทั้งหมด แล้วศึกษากระบวนการทำงานของระบบหล่อเย็น
5.7 Unbalanced cooling of casting piece ระบบหล่อเย็นไม่สมดุลในชิ้นงานฉีดอะลูมิเนียม วิธีแก้ไข
- ศึกษาชนิดของสารหล่อเย็น, จำนวน Spray ที่ใช้พ่น, ตำแหน่งและกระบวนการพ่นแล้วเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น
- ปรับแนวหรือเปลี่ยนการควบคุมระบบปลดชิ้นงานถ้าไม่มีทางเลือกอื่น
6. Lack of part of casting piece ความบกพร่องเนื่องจากแม่พิมพ์ติด Moldสาเหตุและวิธีแก้ไข
6.1 Stick some part of casting piece in cavity and remain there ชิ้นงานบางงานติดใน Cavity และเหลืออยู่ในแม่พิมพ์ วิธีแก้ไข
- เปลี่ยนมุมให้พอเพียงต่อการปลดชิ้นงาน
- ปรับรอยขูดขีดที่มีบนแม่พิมพ์แล้วขัดส่วนที่เป็นหลุมหรือแอ่งด้วยความระมัดระวัง
- ศึกษากระบวนการหล่อเย็น, ส่วนที่ฉีดเกิน และการออกแบบ Gate ในคำสั่งว่าทำว่าการกระจายตัวของอุณหภูมิคงที่หรือไม่แล้วเปลี่ยนแปลงให้ดี
- ปรับปรุงแนวที่ชิ้นงานฉีดเพื่อให้ได้รับความแข็งเพียงพอในระหว่างการให้ความร้อน
7. Depression at ejector pin marks เกิดรอย Ejector pin เป็นหลุมหรือแอ่ง สาเหตุและวิธีแก้ไข
7.1 Insufficient cooling การหล่อเย็นไม่เพียงพอ วิธีแก้ไข
- ทำการหล่อเย็นให้เพียงพอ
- เพิ่มเวลาเซ็ตตัวของอะลูมิเนียมและรอเวลาปลดชิ้นงาน
7.2 Partly thick wall ผนังแม่พิมพ์บางส่วนหนา วิธีแก้ไข
- เปลี่ยนรูปร่างเพื่อให้ผนังแม่พิมพ์มีค่าที่คงที่หรือทำการเปลี่ยนตำแหน่ง Ejector pin
8. Depression by remaining burrs เกิดหลุมหรือแอ่งจากการกำจัดรอย Burr สาเหตุและวิธีแก้ไข
8.1 Insufficient cleaning of die ทำความสะอาดแม่พิมพ์ไม่เพียงพอ
8.2 Mis-matching at insert and slide core portion (Insert และ Slide core บางส่วนไม่พอดีกัน)
8.3 Surface condition or die is bad เงื่อนไขของผิดหรือแม่พิมพ์ไม่เหมาะสม
ทั้งสามสาเหตุนี้สามารถแก้ไขได้โดย
- ทำการฉีดหลังจากเอา Burr ออกจากผิวแม่พิมพ์ และที่บางส่วนของ slide core
- ปรับช่องว่างระหว่าง Insert และแม่พิมพ์หลัก
- ปรับความเรียบผิวและเงื่อนไขคำสั่งว่าไม่ให้มี Burr หรือไม่
- ปรับความพอดีระหว่าง Slide core และรางของ Slide core
9. Depression, break การเกิดเป็นหลุมบ่อ ,แตก สาเหตุและวิธีแก้ไข
9.1 Undercut or soldering mark เกิด Undercut หรือรอยประสาน วิธีแก้ไข
-ปรับค่าไม่ให้เป็น Undercut หรือบางส่วนเพื่อไม่ให้เกิดรอยประสา
- ศึกษาตำแหน่ง Gate และเปลี่ยนแปลงกระบวนการหล่อเย็น
- ศึกษาสารหล่อลื่นของแม่พิมพ์และเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตงานฉีดอื่นๆ
10.Projection เกิดการนูนออกมา สาเหตุและวิธีแก้ไข
10.1 Break of die แม่พิมพ์แตก
10.2 Core pin break (Core pin แตก)
10.3 Die abrasion แม่พิมพ์สึก
10.4 Die erosion แม่พิมพ์เกิดจากการกัดกร่อน,สึกหรอ
10.5 Ejector pin length เข็มกระทุ้งยาวเกินไป
วิธีแก้ไขทุกสาเหตุข้างต้นมีดังนี้
- ปรับปรุงแม่พิมพ์ในส่วนที่ต้องทำการเชื่อมหรือการเจียระไน
- เปลี่ยน Core pin
- ปรับปรุงแม่พิมพ์ให้เหมาะสมและหมั่นตรวจสอบอายุการใช้งานแม่พิมพ์ เพื่อซ่อมแซมก่อนเกิดการสึกหรอ
- ปรับปรุงแม่พิมพ์ที่เกิดการสึกหรอแล้วโดยการเชื่อม ขัด หรือเจียระไนเพื่อให้ผิวของชิ้นงานไม่ผิดเพี้ยนจากแบบกำหนด
- เปลี่ยน Ejector pin และปรับความยาวของ Ejector pin ให้ถูกต้องและเหมาะสม



1 ความคิดเห็น: