วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Die Casting Machine


Die Casting Machine
ลักษณะของเครื่องฉีดอะลูมิเนียมโดยทั่วไป จะมีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้
1.Piston เป็นตัวกระทุ้งน้ำโลหะให้ฉีดเข้าไปในแม่พิมพ์โดยมีการกำหนดค่าความดันฉีดภายในเครื่องฉีด ซึ่งค่าความดันแต่ละค่านี้จะแตกต่างกันตามขนาดของแม่พิมพ์และความสามารถของแค่ละเครื่อง
2.Shot sleeve เป็นส่วนที่อยู่ระหว่างท่อนำส่งอะลูมิเนียม(Sleeve) ที่จะถูกฉีดเข้าไปในแม่พิมพ์ ซึ่ง Shot sleeve จะต้องมีความกว้างมากพอเมื่อกรวยของน้ำโลหะเทลงในช่อง Shot sleeve ซึ่งเครื่องฉีดบางเครื่องหากต้องใช้ปริมาณน้ำโลหะเป็นจำนวนมาก ก็จะใช้ช่องส่งน้ำโลหะแบบ Long sleeve แทน แต่จะต้องสามารถใช้ขึ้นเครื่องฉีดขนาดนั้นๆ ได้ หากSleeve ไม่สามารถขึ้นเครื่องฉีดได้ก็ต้องทำการออกแบบและสั่งซื้อใหม่เพื่อให้สามารถฉีดงานที่ต้องการได้
3.Fix Platen เป็นส่วนของหน้าเครื่องฉีดอะลูมิเนียม ใช้สำหรับติดตั้งแม่พิมพ์ในส่วนที่อยู่กับที่
4.Bolster เป็นแผนรองรับด้านหน้าเครื่องฉีด มีไว้สำหรับรับแรงกระแทกเมื่อเครื่องทำการปิดแม่พิมพ์ก่อนทำการฉีด
5.Die แม่พิมพ์ที่ทำการขึ้นฉีดในเครื่องจะถูกวางในตำแหน่งดังรูป
6.Casting เป็นส่วนของแม่พิมพ์ที่จะต้องมีอะลูมิเนียมบรรจุอยู่หลังจากการฉีด ซึ่งหลังจากการฉีดอะลูมิเนียมแล้วในส่วนนี้จะกลายเป็นชิ้นงานที่ได้จากการฉีดอะลูมิเนียม
7.Moving Plate เป็นแผ่นรองด้านหลังเครื่องในส่วนที่แม่พิมพ์สามารถเคลื่อนที่ได้
8.Ejectors เป็นส่วนที่ใช้กระทุ้งแม่พิมพ์ให้ Ejectors Pin ดันชิ้นงานออกจากแม่พิมพ์หลังการฉีดอะลูมิเนียม
9.Gate ทางเข้าของน้ำโลหะเข้าสู่แม่พิมพ์ ซึ่งส่วนของ Gate จะอยู่ที่แม่พิมพ์และขนาดของ Gate ต้องสัมพันธุ์กับ Sleeve เพื่อไม่ได้น้ำโลหะรั่วไหลออกมาจากแม่พิมพ์ในขณะทำการฉีดอัดน้ำโลหะเข้าสู่แม่พิมพ์
ขนาดของเครื่องฉีดอะลูมิเนียมมีทั้งขนาดใหญ่และเล็ก เพื่อให้สามารถฉีดชิ้นงานได้หลายขนาด โดยส่วนใหญ่แล้วการทำงานของเครื่องฉีดต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก หากส่วนของแม่พิมพ์ปิดไม่สนิท อาจทำให้ขณะทำการฉีดน้ำโลหะสามารถพุ่งออกจากแม่พิมพ์ทำให้เกิดอันตรายกับพนักงานบริเวณนั้นได้ ซึ่งสาเหตุของการพุ่งของน้ำโลหะอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุดังนี้
1.หน้าแม่พิมพ์ไม่เรียบเสมอกันทำให้เกิดช่องว่างระหว่างแม่พิมพ์ จนทำให้ขณะเกิดแรงดันฉีดน้ำโลหะจึงหาช่องว่างเพื่อที่จะระบายแรงดันแล้วจึงเกิดการพุ่งออกจากแม่พิมพ์
2.การใส่ Condition แรงปิดแม่พิมพ์น้อยเกินไป ทำให้แม่พิมพ์ปิดไม่สนิท เมื่อทำการฉีดน้ำโลหะจึงพุ่งออกจากแม่พิมพ์
3.การให้แรงดันน้ำโลหะและปริมาณน้ำโลหะมากเกินไป ทำให้ขนาดของแม่พิมพ์ไม่สามารถรับแรงดันได้หมดจึงกระแทกเปิดแม่พิมพ์จนน้ำโลหะพุ่งออกมาได้
4.การสึกหรอในส่วนของแม่พิมพ์ ซึ่งในส่วนนี้ผู้ที่มีหน้าที่ดูแลแม่พิมพ์จะต้องตรวจสอบแม่พิมพ์ทุกครั้งหลังการใช้งาน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดกับการใช้งานในครั้งต่อๆ ไป
กลไกการปลดชิ้นงาน
1.การปลดชิ้นงานด้วยมือ จะใช้กับแม่พิมพ์ขนาดเล็ก เครื่องฉีดขนาดเล็ก การฉีดงานที่มีจำนวนน้อย หรืองานที่ไม่มี Cycle Time ที่แน่นอน
2.ปลดชิ้นงานโดยใช้แผ่นกระทุ้ง ซึ่งจะเกิดกลไกนี้ขึ้นหลังจากเปิดแม่พิมพ์ โดยแผ่นกระทุ้งจะเลื่อนไปข้างหน้าและทำการกระทุ้งชิ้นงานออก ขณะที่ชิ้นงานยังติดอยู่ที่ฝั่ง Move ของแม่พิมพ์ สำหรับการทำให้ชิ้นงานติดที่ฝั่ง Move สามารถทำได้โดยการเพิ่ม Undercut หรือให้อุณหภูมิในฝั่งของ Core และ Cavity แตกต่างกัน แต่หากไม่ใช้อุณหภูมิช่วยจะทำให้ต้องใช้แรงในการกระทุ้งมากเกินไป
3.การกระทุ้งแบบพิเศษ ใช้ในกรณีที่ต้องใช้แรงกระทุ้งมาก ชิ้นงานที่มีผนังบาง โครงลึก หรือครีบบางจำนวนมาก ซึ่งโดยมากมักติดตั้งชุดกระทุ้งเข้ากับส่วนของ Fix Die เพื่อเพิ่มแรงดันในการกระทุ้งไม่ให้ชิ้นงานเสียหาย
เครื่องฉีดที่มีขนาดใหญ่จะเรียกว่า High Pressure Machine ส่วนเครื่องฉีดที่มีขนาดเล็กจะเรียกว่า Low Pressure Machine

กรมอุตุนิยมวิทยา--พยากรณ์อากาศประจำวัน

กรมอุตุนิยมวิทยา--พยากรณ์อากาศประจำวัน: "- Sent using Google Toolbar"

วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบแม่พิมพ์ฉีดอะลูมิเนียม

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบแ่ม่พิมพ์ฉีดอะลูมิเนียม
1.ความแข็งแรงของชิ้้นงานฉีดอะลูมิเนียมในส่วนที่เป็นผนังบางในงานออกแบบนั้น ต้องใช้โครงหรือผนังในการออกแบบเพื่อเพิ่มความแข็งแรงในส่วนที่เป็นขอบภายในที่ซับซ้อนของชิ้นงาน หากออกแบบโครงหรือผนังกั้นบางเกินไปจะทำให้ชิ้นงานที่ฉีดออกมาหนาเกินขนาดกำหนดได้ หากออกแบบหนาเกินไปจะทำให้ชิ้นงานที่ฉีดออกมาขาดความแข็งแรงและบางกว่าขนาดกำหนด ปัจจัยในการออกแบบชิ้นส่วนที่ซับซ้อนจำเป็นจะต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ในการฉีดชิ้นงานให้ได้ตามที่ลูกค้ากำหนดเสมอ แต่หากกระทบหรือส่งผลต่อความแข็งแรงหรืออายุการใช้งานของแม่พิมพ์ต่ำลงก็ต้องทดลองฉีดชิ้นงานแล้วนำไปเปรียบเทียบผลว่าสมควรใช้งานต่อหรือแก้ไขแม่พิมพ์ใหม่เพื่อป้องกันปัญหาก่อนการส่งมอบแม่พิมพ์ให้ลูกค้า หากไม่สามารถออกแบบให้หนาขึ้นได้เพราะส่งผลต่อการประกอบชิ้นงาน ก็จำเป็นจะต้องทำการบำรุงรักษาแม่พิมพ์อย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันปัญหาระหว่างการผลิตชิ้นงานอะลูมิเนียม
2.เก็บส่วนที่เป็นไปได้เพื่อคงค่าความแข็งแรงของชิ้นงาน หากส่วนที่จำเป็นจะต้องคงอยู่เพื่อให้ชิ้นงานหลังการฉีดเกิดความแข็งแรงโดยไม่ส่งผลต่อการประกอบหรือปัจจัยอื่นในการผลิต ก็ไม่จำเป็นจะต้องแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา เพราะการตัดส่วนประกอบบางส่วนที่คิดว่าไม่จำเป็นออกอาจส่งผลกระทบต่อชิ้นงานตามมามากมายหลังการฉีด
3.เก็บส่วนที่เป็นโครงสร้างหลักของชิ้นงานโดยออกแบบโครงสร้างหลักให้เรียบร้อยก่อน ค่อยทำการสร้างโครงสร้างต่อๆ ไปในการออกแบบ เพื่อปรับปรุงปัจจัยต่างๆให้ดียิ่งขึ้น
4.ส่วนที่เป็น Slide Core จำเป็นจะต้องออกแบบให้มีความแม่นยำเป็นอย่างมาก เพราะหากการออกแบบส่วนนี้มีการคลาดเคลื่อนก็จะทำให้ความหนาและขนาดของชิ้นงานผิดพลาดได้
5.ในชิ้นงานที่มีรู จำเป็นจะต้องออกแบบ Core เพื่อลดปริมาณน้ำโลหะไม่ให้ไหลเข้าไปในส่วนนั้นๆ ได้ Core จะต้องมีความแข็งแรงและมีคุณสมบัติในการลื่นไหลได้ดี เพื่อป้องกันการแตกหักของชิ้นงานขณะที่ทำการเปิดแม่พิมพ์ เพราะหาก Core มีเศษอะลูมิเนียมติดระหว่างการฉีดแม่พิมพ์ จะทำให้ชิ้นงานต่อๆ มาที่ทำการฉีดเกิดการเสียหายได้
6.หลีกเลี่ยงการออกแบบ Core ที่ซับซ้อนจะทำให้มีปัญหาในการบำรุงรักษาแม่พิมพ์
7.หลีกเลี่ยงการออบแบบ Core ที่มีขนาดเล็กเกินไป เพราะจะทำให้เกิดการแตกหักได้ง่าย และเสียค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยน Core ใหม่บ่อยๆ
8.หลีกเลี่ยงการตัดในส่วนที่ไม่จำเป็นต้องตัดแต่งเหล็ก เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการผลิตแม่พิมพ์ เช่น ในส่วนที่เป็นฐานแม่พิมพ์ที่มาจากการหล่อสำเร็จรูปแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องมา Machine เพิ่มอีก
9.ออกแบบผนังและแกนให้เพียงพอ เพื่อป้องกันการเกิดการบิดตัวหรือเสียรูปของชิ้นงาน
10.การออกแบบขอบและมุมต่างๆ ของชิ้นงาน ต้องคำนวณอย่างแม่นยำเพราะในส่วนนี้จะมีค่าำกำหนดที่ละเอียดแตกต่างจากส่วนอื่นๆ และมีผลต่อการไหลตัวของน้ำโลหะอีกด้วย
11.การออกแบบ Ejector Pin จะต้องออกแบบให้แม่นยำ เพื่อป้องกันการคดงอ หรือถอดชิ้นงานไม่ออกจากแม่พิมพ์หลังการฉีด หากขนาดของ Ejector Pin ใหญ่เกินไปอาจส่งผลต่อลักษณะของชิ้นงานและเกิดการยุบตัวของโลหะมากเกินไปได้
12.หากแม่พิมพ์มีส่วนที่ต้อง Machine มากเกินไป ให้ลองปรับส่วนที่สามารถปรับได้โดยที่ไม่ต้อง Machine เพิ่ม เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการผลิตและทันต่อการส่งมอบ
13.หากออกแบบเสร็จสิ้นแล้วในส่วนที่สำคัญทั้งหมด สามารถปรับปรุงส่วนอื่นๆ เพื่อให้คุณสมบัติของแม่พิมพ์ดีขึ้น หรือเพิ่มความสามารถในการไหลตัวของน้ำโลหะและกลมกลืนกับชิ้นส่วนอื่นๆ ด้วยได้
14.Insert จะต้องอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
15.ออกแบบชิ้นส่วนเพื่อป้องกันการ Flash ของอะลูมิเนียมออกมานอกแม่พิมพ์ในขณะทำการฉีด
16.อย่าลดขนาดกำหนด(Tolerances)ต่ำกว่าที่ลูกค้ากำหนด เพราะจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นกับค่าความละเอียดที่จะต้อง Machine
17.ออกแบบแม่พิมพ์ให้ Machine น้อยที่สุด
18.กรณีที่ต้องใช้เครื่องจักร ต้องระบุให้เพียงพอต่อการตัดโลหะที่ต้องการ
19.ส่วนที่เป็นผิวหน้าหรือส่วนที่ต้องทำการ Buffer ต่อ ต้องหลีกเลี่ยงการเกิดช่องว่างระหว่างผิวและขอบตัดที่คมชัด
ในทุกข้อที่กล่าวมา เป็นปัจจัยในการสร้างแม่พิมพ์ที่ดีเพื่อให้เป็นที่พอใจของลูกค้า และลดค่าใช้จ่ายในการผลิตแม่พิมพ์ หากสามารถทำได้ครบหรือมีมากกว่าที่กล่าวมา เชื่อแน่ว่าลูกค้าจะต้องพอใจในคุณภาพของแม่พิมพ์ที่ส่งมอบแน่นอน และค่าใช้จ่ายในการผลิตก็ต่ำลงทำให้ได้รับผลกำไรมากยิ่งขึ้น

Material Property Data

Material Property Data
ค่าของวัสดุที่สำคัญในการฉีดอะลูมิเนียมมีความสำคัญต่อการฉีดชิ้นงานเป็นอย่างมาก ซึ่งสิ่งที่ต้องคำนึงถึงนั้นประกอบไปด้วย ค่าการนำความร้อน ค่าความล้า ค่าความเหนียว ค่าความแข็ง และค่าการไหลของน้ำโลหะ แต่ละองค์ประกอบต่างๆ เหล่านี้ส่งผลให้เกิดชิ้นงานที่ดีและไม่ดีได้เป็นอย่างมาก จึงควรคำนึงถึงเสมอในการทำงานด้านงานฉีดอะลูมิเนียม
Fatigue(ความล้า) ค่าความล้านี้จะส่งผลต่อการแตกหักของชิ้นงานที่ฉีดได้ ซึ่่งหากค่าความล้าที่ได้เกินจากจุด Tensile Strength จะส่งผลให้วัสดุเกิดการแตกหักหลังการฉีดชิ้นงานอะลูมิเนียม
Toughness(ความเหนียว) ค่าความเหนียวที่ต้องกำหนดในการฉีดอะลูมิเนียมหากมีมากเกินไปจะทำให้ระยะเวลาการเซ็ตตัวของอะลูมิเนียมนานเกินไป จนทำให้เกิดการบิดหรือเปลี่ยนรูปไปในขณะที่อะลูมิเนียมกำลังเย็น และมีผลต่อการขึ้นรูปหลังการฉีดเป็นอย่างมาก ทำให้เมื่อมีการ Machine อะลูมิเนียมแล้วจะเกิดการเสียหายของเม็ดมีดหลังการ Machine มากขึ้น แต่หากค่าความเหนียวน้อยมากเกินไปก็จะทำให้ชิ้นงานเปราะได้และเกิดปัญหา Blow Hole ได้มากในชิ้นงานอะลูมิเนียม
Stiffness(ความแข็ง) ค่าความแข็งของอะลูมิเนียมหากแข็งมากเกินไปจะทำให้ความทนทานของชิ้นงานอะลูมิเนียมลดน้อยลง การควบคุมค่าความแข็งจึงมีความสำคัญอย่างมากในการฉีดอะลูมิเนียม เพราะจะส่งผลต่อGrain ของวัสดุโดยตรงทำให้เกิดการแข็งแต่เปราะได้ง่าย
Creep(การยืดตัว) ค่าการไหลหรือการยืดตัวของน้ำโลหะ ส่งผลต่อการฉีดเป็นอย่างมาก เนื่องจากหากค่าการยืดตัวน้อยเกินไปจะเกิดการติดแม่พิมพ์ในระหว่างฉีดชิ้นงาน ทำให้น้ำโลหะไหลไม่เต็มแม่พิมพ์ได้ ดังนั้นควรกำหนดอุณหภูมิในการฉีดให้ดีเพื่อป้องกันปัญหาชิ้นงานไม่เต็มแม่พิมพ์ และชิ้นงานเสียรูปในที่สุด
ปัจจัยการหดตัวจากแม่พิมพ์ ค่าเฉลี่ยของการไหลของน้ำอะลูมิเนียมและค่ากำหนดที่ผิดพลาดในการตั้งเครื่องฉีดอะลูมิเนียม จะส่งผลให้เกิดปัจจัยต่างๆ ในการหดตัวของชิ้นงานหลังจากการฉีดอะลูมิเนียมไปแล้ว ดังนั้นการใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อวิเคราะห์การไหลของอะลูมิเนียมและการกำหนดอุณหภูมิในการฉีดจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการแก้ปัญหาการหดตัวของน้ำโลหะได้เป็นอย่างดี สำหรับผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ในการฉีดอะลูมิเนียมมาก่อนต้องศึกษาค่าที่กำหนดให้กับเครื่องฉีดอย่างแม่นยำ เพื่อป้องกันชิ้นงานออกมาเสียรูปจากการฉีด
Porosity การเกิดรูพรุนในชิ้นงานอะลูมิเนียมนั้น สาเหตุส่วนใหญ่เกิดมาจากแก๊สที่เกิดจากการหลอมอะลูมิเนียมที่อุณหภูมิสูงเกินไปจนเกิดฟองอากาศภายในเตาหลอม และการไม่เก็บ Slag ที่ผิวหน้าของน้ำอะลูมิเนียมก็สามารถทำให้เกิดช่องว่างภายในชิ้นงานอะลูมิเนียมหลังจากการฉีดชิ้้นงานได้เช่นกัน

Blogger Buzz: Updates and Fixes for November 22nd

Blogger Buzz: Updates and Fixes for November 22nd: "Besides an exciting update to the Blogger in Draft testing ground, we’ve also made a few updates to the rest of Blogger. Here’s a quick summ..."

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อิทธิพลของธาตุผสมในอะลูมิเนียม

อิทธิพลของธาตุผสมในอะลูมิเนียม
1.ซิลิกอน(Si) ซิลิกอนในปริมาณ 5-12% จะช่วยเพิ่มคุณสมบัติการทนความดัน ปรับปรุงคุณสมบัติการไหลตัวของน้ำโลหะ ลดการแตกร้าว และเพิ่มคุณสมบัติการเชื่อม แต่อย่างไรก็ตามหากปริมาณของซิลิกอนมีค่าเกินจุดยูเทกติก ก็จะทำให้โลหะผสมกลายเป็นโลหะผสมไฮเปอร์ยูเทกติก ทำให้คุณสมบัติทนการสึกหรอและค่าการขยายตัวทางความร้อนลดต่ำลง ทำให้คุณสมบัติการกัดกลึงต่ำลงด้วย ซึ่งต้องทำการปรับสภาพเกรน(Grain refinement) และตัวซิลิกอนเองในฐานะของสารมลทินจะทำให้ค่าการยืดตัว (Elongation)ลดลง
2.ทองแดง(Cu) ทองแดงช่วยปรับปรุงคุณสมบัติการกัดกลึงและคุณสมบัติเชิงกลของโลหะ และทองแดงในปริมาณ 4.5% ยังช่วยปรับปรุงคุณสมบัติเชิงกลที่ได้จากกระบวนการอบชุบทางความร้อนอีกด้วย แต่จากการที่มีธาตุทองแดงผสมทำให้คุณสมบัติทนการกัดกร่อนลดต่ำลงและเกิดการแตกของชิ้นงานในขณะร้อนได้ง่ายขึ้น
3.แมกนีเซียม(Mg) หากผสมแมกนีเซียมในปริมาณ 3-5% จะช่วยปรับปรุงคุณสมบัติการกัดกลึงและคุณสมบัติเชิงกลของชิ้นงานได้ และหากเพิ่มปริมาณผสมถึง 10% จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการอบชุบได้ แต่จะทำให้เกิดการแตกของชิ้นงานในขณะร้อนได้ง่ายขึ้น และคุณสมบัติการหล่อไม่ดี แต่จะทำให้คุณสมบัติทนการกัดกร่อนและค่าการยืดตัวดีขึ้น
4.สังกะสี(Zn) สังกะสีที่ผสมอยู่ใน Al-Zn-Mg alloy จะช่วยเพิ่มคุณสมบัติเชิงกลของชิ้นงาน แต่หากเป็นสังกะสีที่ผสมอยู่ในฐานของสารมลทินแล้ว จะทำให้คุณสมบัติเชิงกลและคุณสมบัติทนการกัดกร่อนลดต่ำลง
5.เหล็ก(Fe) ในงาน Die Casting มีการเติมธาตุเหล็กลงไปในโลหะผสมเพื่อป้องกันการหลอมติดแม่พิมพ์ แต่จะส่งผลให้คุณสมบัติเชิงกลโดยเฉพาะค่าการยืดตัว(Elongation) มีค่าต่ำลงไปด้วย ในมาตรฐานของอิงก็อต อะลูมิเนียมผสมสำหรับงาน Die Casting JIS H2118-2000 กำหนดให้ธาตุเหล็กต่ำกว่า 0.9% และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับงานที่ต้องการทนการกัดกร่อนสูง หากมีปริมาณเหล็กผสมเพียงเล็กน้อยจะทำให้คุณสมบัติการทนการกัดกร่อนด้อยลงได้ จึงควรระมัดระวังอย่างยิ่งสำหรับธาตุเหล็กในการเกิดการผสมกับอะลูมิเนียมหลอม นอกจากนี้ธาตุเหล็กยังรวมตัวกับธาตุอื่นเกิดเป็นสารประกอบโลหะของ FeA13 และกลุ่ม Al-Siขึ้นได้ และจะทำให้ค่าการยืดตัวต่ำลง และเกิดเป็นฮาร์ดสป็อต(Hard Spot) ของโลหะขึ้นได้ง่าย
6.แมงกานีส(Mn) แมงกานีสในปริมาณ 0.2-0.5% จะช่วยทำให้โครงสร้างรูปเข็มของ AlFe3 ที่เกิดจากธาตุเหล็กกลายเป็นโครงสร้างกลมได้ ซึ่งจะช่วยปรับปรุงคุณสมบัติเชิงกลและคุณสมบัติทนการกัดกร่อนให้ดีขึ้น ซึ่งหากมี Sludge เกิดขึ้นจะทำให้เกิด Hard Spot ของโลหะได้
7.ไทเทเนียม(Ti) ไทเทเนียมผสมในปริมาณ 0.1-0.2% จะช่วยปรับสภาพเกรนให้ละเอียดลง ซึ่งจะทำให้คุณสมบัติเชิงกลสูงขึ้น และในโลหะผสม Al-Cu จะช่วยลดการแตกของชิ้นงานได้ แต่หากเติมในปริมาณมากเกินไปจะทำให้คุณสมบัติการไหลตัวต่ำลง
8.นิกเกิล(Ni) เมื่อเติมธาตุนิกเกิลในโลหะผสม Al-Cu-Mg alloy และ Al-Cu-Si-Mg alloy ในปริมาณ1.5-2.0% จะช่วยทำให้ความแข็งแรงที่อุณหภูมิสูงไม่ลดด้อยลง มักใช้ในชิ้นงานที่ต้องการการทนความร้อน เช่น ลูกสูบ เป็นต้น
9.ดีบุก(Sn) ดีบุกไม่ได้เป็นธาุตุที่ต้องเติมลงไปในอะลูมิเนียมผสมสำหรับงาน Die Casting ตามมาตรฐาน JIS แต่ส่วนใหญ่มักถูกผสมมากับ Scrap และธาตุดีบุกในฐานะของสารมลทินจะทำให้คุณสมบัติเชิงกลของชิ้นงานต่ำลง และยังเป็นสาเหตุของการแตกตามขอบเกรนด้วย
ฟลั้กซ์(Flux) ใช้เพื่อกำจัดสารประกอบออกไซด์ในน้ำโลหะ และป้องกันการดูดซึมแก๊สและการเกิดออกซิเดชั่น นอกจากนั้นยังสามารถใช้ฟลั้กซ์ในกระบวนการลดแก๊ส (Degassiing) การปรับโครงสร้าง (Modification) และการปรับสภาพเกรน(Grain refinement)
การปรับโครงสร้าง(Modificatioon)และการปรับสภาพเกรน(Grain refinement)
การปรับโครงสร้าง(Modification) เป็นการใช้ธาตุโซเดียม(Na) สตรอนเทียม(Sr) และพลวง เป็นต้น ในการปรับโครงสร้างขนาดใหญ่ของซิลิกอนที่อยู่ในรูปเข็มหรือรูปแผ่นที่ผสมอยู่ในอะลูมิเนียมผสม
การปรับสภาพเกรน(Grain refinement) เป็นการปรับปรุงคุณสมบัติเชิงกลของโลหะให้สูงขึ้นด้วยการปรับโครงสร้างเกรนให้ละเอียดลงด้วยการเติมธาุตุไทเทเนียม หรือของผสมระหว่างอะลูมิเนียม ไทเทเนียม และโบรอน โดยมีไทเทเนียม 0.1-0.2% และธาุตุโบรอนผสมอยู่ประมาณ 0.05%
ฟลั้กซ์ที่จำเป็นในงาน Die Casting คือ ในกระบวนการหลอมมีความจำเป็นต้องใช้ฟลั้กซ์ในการกำจัดสารประกอบออกไซดหรือขี้โลหะ และในกระบวนการลดแก๊ส หรือฟลั้กซ์คลุมผิวสำหรับป้องกันการดูดซึมแก๊สหรือเกิดออกซิเดชั่น
การระมัดระวังในการหลอมสำหรับงาน Die Casting คือ ต้องระวังมิให้น้ำโลหะมีอุณหภูมิสูงมากเกินไป เพื่อป้องกันการเกิดเกรนขนาดใหญ่ การดูดซึมแก๊สและป้องกันการเกิดขี้โลหะติดตามผนังเตา นอกจากนั้นควรระมัดระวังในการใช้ฟลั้กซ์ด้วยเนื่องจากมีการพัฒนาฟลั้กซ์สำหรับใช้ในอุณหภูมิสูง และอุณหภูมิต่ำ
ในงานฉีดอะลูมิเนียมนั้น จำเป็นจะต้องให้ความสำคัญกับคุณสมบัติของอะลูมิเนียมเหลวเป็นอย่างมากเพื่อป้องกันการเกิดปัญหางานที่จะตามมาหลังการฉีด และการรักษาอุณหภูมิในการหลอมเหลวของอะลูมิเนียมไว้ก็สำคัญในการฉีดงานเป็นอย่างมากด้วยในการฉีดงานอะลูมิเนียมนั้นจะมีขั้นตอนการฉีด และลักษณะของเครื่องฉีดซึ่งจะมีกล่าวในบล็อกต่อไป