วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Die Casting Machine


Die Casting Machine
ลักษณะของเครื่องฉีดอะลูมิเนียมโดยทั่วไป จะมีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้
1.Piston เป็นตัวกระทุ้งน้ำโลหะให้ฉีดเข้าไปในแม่พิมพ์โดยมีการกำหนดค่าความดันฉีดภายในเครื่องฉีด ซึ่งค่าความดันแต่ละค่านี้จะแตกต่างกันตามขนาดของแม่พิมพ์และความสามารถของแค่ละเครื่อง
2.Shot sleeve เป็นส่วนที่อยู่ระหว่างท่อนำส่งอะลูมิเนียม(Sleeve) ที่จะถูกฉีดเข้าไปในแม่พิมพ์ ซึ่ง Shot sleeve จะต้องมีความกว้างมากพอเมื่อกรวยของน้ำโลหะเทลงในช่อง Shot sleeve ซึ่งเครื่องฉีดบางเครื่องหากต้องใช้ปริมาณน้ำโลหะเป็นจำนวนมาก ก็จะใช้ช่องส่งน้ำโลหะแบบ Long sleeve แทน แต่จะต้องสามารถใช้ขึ้นเครื่องฉีดขนาดนั้นๆ ได้ หากSleeve ไม่สามารถขึ้นเครื่องฉีดได้ก็ต้องทำการออกแบบและสั่งซื้อใหม่เพื่อให้สามารถฉีดงานที่ต้องการได้
3.Fix Platen เป็นส่วนของหน้าเครื่องฉีดอะลูมิเนียม ใช้สำหรับติดตั้งแม่พิมพ์ในส่วนที่อยู่กับที่
4.Bolster เป็นแผนรองรับด้านหน้าเครื่องฉีด มีไว้สำหรับรับแรงกระแทกเมื่อเครื่องทำการปิดแม่พิมพ์ก่อนทำการฉีด
5.Die แม่พิมพ์ที่ทำการขึ้นฉีดในเครื่องจะถูกวางในตำแหน่งดังรูป
6.Casting เป็นส่วนของแม่พิมพ์ที่จะต้องมีอะลูมิเนียมบรรจุอยู่หลังจากการฉีด ซึ่งหลังจากการฉีดอะลูมิเนียมแล้วในส่วนนี้จะกลายเป็นชิ้นงานที่ได้จากการฉีดอะลูมิเนียม
7.Moving Plate เป็นแผ่นรองด้านหลังเครื่องในส่วนที่แม่พิมพ์สามารถเคลื่อนที่ได้
8.Ejectors เป็นส่วนที่ใช้กระทุ้งแม่พิมพ์ให้ Ejectors Pin ดันชิ้นงานออกจากแม่พิมพ์หลังการฉีดอะลูมิเนียม
9.Gate ทางเข้าของน้ำโลหะเข้าสู่แม่พิมพ์ ซึ่งส่วนของ Gate จะอยู่ที่แม่พิมพ์และขนาดของ Gate ต้องสัมพันธุ์กับ Sleeve เพื่อไม่ได้น้ำโลหะรั่วไหลออกมาจากแม่พิมพ์ในขณะทำการฉีดอัดน้ำโลหะเข้าสู่แม่พิมพ์
ขนาดของเครื่องฉีดอะลูมิเนียมมีทั้งขนาดใหญ่และเล็ก เพื่อให้สามารถฉีดชิ้นงานได้หลายขนาด โดยส่วนใหญ่แล้วการทำงานของเครื่องฉีดต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก หากส่วนของแม่พิมพ์ปิดไม่สนิท อาจทำให้ขณะทำการฉีดน้ำโลหะสามารถพุ่งออกจากแม่พิมพ์ทำให้เกิดอันตรายกับพนักงานบริเวณนั้นได้ ซึ่งสาเหตุของการพุ่งของน้ำโลหะอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุดังนี้
1.หน้าแม่พิมพ์ไม่เรียบเสมอกันทำให้เกิดช่องว่างระหว่างแม่พิมพ์ จนทำให้ขณะเกิดแรงดันฉีดน้ำโลหะจึงหาช่องว่างเพื่อที่จะระบายแรงดันแล้วจึงเกิดการพุ่งออกจากแม่พิมพ์
2.การใส่ Condition แรงปิดแม่พิมพ์น้อยเกินไป ทำให้แม่พิมพ์ปิดไม่สนิท เมื่อทำการฉีดน้ำโลหะจึงพุ่งออกจากแม่พิมพ์
3.การให้แรงดันน้ำโลหะและปริมาณน้ำโลหะมากเกินไป ทำให้ขนาดของแม่พิมพ์ไม่สามารถรับแรงดันได้หมดจึงกระแทกเปิดแม่พิมพ์จนน้ำโลหะพุ่งออกมาได้
4.การสึกหรอในส่วนของแม่พิมพ์ ซึ่งในส่วนนี้ผู้ที่มีหน้าที่ดูแลแม่พิมพ์จะต้องตรวจสอบแม่พิมพ์ทุกครั้งหลังการใช้งาน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดกับการใช้งานในครั้งต่อๆ ไป
กลไกการปลดชิ้นงาน
1.การปลดชิ้นงานด้วยมือ จะใช้กับแม่พิมพ์ขนาดเล็ก เครื่องฉีดขนาดเล็ก การฉีดงานที่มีจำนวนน้อย หรืองานที่ไม่มี Cycle Time ที่แน่นอน
2.ปลดชิ้นงานโดยใช้แผ่นกระทุ้ง ซึ่งจะเกิดกลไกนี้ขึ้นหลังจากเปิดแม่พิมพ์ โดยแผ่นกระทุ้งจะเลื่อนไปข้างหน้าและทำการกระทุ้งชิ้นงานออก ขณะที่ชิ้นงานยังติดอยู่ที่ฝั่ง Move ของแม่พิมพ์ สำหรับการทำให้ชิ้นงานติดที่ฝั่ง Move สามารถทำได้โดยการเพิ่ม Undercut หรือให้อุณหภูมิในฝั่งของ Core และ Cavity แตกต่างกัน แต่หากไม่ใช้อุณหภูมิช่วยจะทำให้ต้องใช้แรงในการกระทุ้งมากเกินไป
3.การกระทุ้งแบบพิเศษ ใช้ในกรณีที่ต้องใช้แรงกระทุ้งมาก ชิ้นงานที่มีผนังบาง โครงลึก หรือครีบบางจำนวนมาก ซึ่งโดยมากมักติดตั้งชุดกระทุ้งเข้ากับส่วนของ Fix Die เพื่อเพิ่มแรงดันในการกระทุ้งไม่ให้ชิ้นงานเสียหาย
เครื่องฉีดที่มีขนาดใหญ่จะเรียกว่า High Pressure Machine ส่วนเครื่องฉีดที่มีขนาดเล็กจะเรียกว่า Low Pressure Machine

3 ความคิดเห็น: