วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554

ข้อบกพร่องที่เกิดกับชิ้นงานในงาน Die Casting

ข้อบกพร่องที่เกิดกับชิ้นงานในงาน Die Casting

Terminology คำว่าข้อบกพร่องและอย่างต่อเนื่อง เป็นสิ่งที่เฉพาะเจาะจงและแยกจากกันในการหล่อ ข้อบกพร่องมีการกำหนดเป็นเงื่อนไขในการหล่อที่จะต้องได้รับการแก้ไขหรือทำให้หายจากการบกพร่องที่เกิดขึ้น หรือต้องระงับการฉีด Die Casting เมื่อเกิดความบกพร่องแบบไม่ต่อเนื่องกัน เช่นการเกิด Blow Hole ในชิ้นงาน 10 ชิ้น จากการฉีีดชิ้นงาน 500 ชิ้น จะเป็นความบกพร่องที่ไม่ต่อเนื่องกันเพราะทั้ง 10 ชิ้นไม่ได้เกิดติดต่อกันแต่เว้นระยะห่างในการเกิดโดยไม่สม่ำเสมอกัน ซึ่งการเกิดข้อบกพร่องแบบนี้จำเป็นจะต้องได้รับการแก้ไขปรับปรุงให้ชิ้นงานออกมาสมบูรณ์ที่สุด หากชิ้นงานเกิดปัญหาเช่นนี้เกิดขึ้น จะเรียกกระบวนการเหล่านั้นว่าเป็นการทำงานที่ไม่สมบูรณ์และการฉีดชิ้นงานเป็นไปแบบไม่ต่อเนื่องในทางกายภาพ
ประเภทของ Defect มีมากมายหลายประเภท ซึ่งสามารถทำให้เกิด Defect อื่นๆ ตามมาได้อีกด้วย การเกิด Defect ที่มักพบโดยทั่วไปมีดังนี้
1.Shinkage Defect ความบกพร่องที่เกิดจากการหดตัวของโลหะ ความบกพร่องนี้เกิดขึ้นจากการที่แรงดันของน้ำโลหะที่จะไหลไปทั่วแม่พิมพ์ไม่เพียงพอ ทำให้ส่วนที่ควรจะถูกดันไปยัง Over Flow ไหลไปไม่ถึง เมื่อน้ำโลหะเย็นตัวลงก็จะทำให้ชิ้นส่วนไม่เต็มแม่พิมพ์ เกิดการหดตัวที่ไม่สมบูรณ์หลังการฉีดอะลูมิเนียม บางสาเหตุเกิดจากการที่มีสิ่งสกปรกปะปนในน้ำโลหะมากเกินไปทำให้ส่วนที่ควรจะหดตัวได้อย่างสมบูรณ์เกิดความบกพร่องขึ้น หรือเกิดจากการที่มีอากาศเข้าไปมากกว่าน้ำโลหะก็จะทำให้การหดตัวไม่สมบูรณ์ด้วยเช่นเดียวกัน
2.Gas Porosity การเกิดแก๊สในบางจุดของชิ้นงาน ฟองอากาศที่เกิดขึ้นหลังการฉีดบนผิวชิ้นงานนั้นสามารถพบได้บ่อยครั้ง ไม่ว่าจากสาเหตุของการเย็นตัวไม่สมบูรณ์หรือน้ำโลหะที่ส่งเข้าไปมีฟองอากาศติดไปกับการส่งด้วยเนื่องจากการหลอมเหลวน้ำโลหะที่อุณหภูมิสูงเกินไปทำให้เกิดฟองอากาศที่ผิวหน้าน้ำโลหะเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดภาวะเสี่ยงที่จะเกิด Gas Porosity ได้ แก๊สที่พบมากในน้ำโลหะคือไนโตรเจน ออกซิเจน และไฮโดรเจน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความบกพร่องนี้ที่เกิดจากแก๊สละลายในสุญญากาศของก๊าซที่มีการหลอมละลายต่ำเช่นก๊าซคาร์บอนหรืออาร์กอน หรือภายใต้ฟลักซ์ที่ป้องกันไม่ให้น้ำโลหะสัมผัสอากาศ เพื่อลดการเกิดจะมีการเก็บไว้ที่อุณหภูมิต่ำ วิธีการลดการเกิดแก๊ซสามารถทำได้หลายวิธีไม่ว่าจะเป็นการ Degassing การล้างแก๊ซ หรือการตกตะกอน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาการตกตะกอนก๊าซกับองค์ประกอบในรูปแบบสารที่จะให้สารมลทินอื่นๆ ลอยตัวอยู่เหนือน้ำโลหะ ตัวอย่างเช่นออกซิเจนสามารถลบออกจากทองแดงโดยการเพิ่มฟอสฟอรัส หรืออะลูมิเนียมและซิลิกอนสามารถเพิ่มธาตุเหล็กเข้าไปเพื่อลดออกซิเจน ไฮโดรเจนที่ผลิตได้ตามปกติโดยการทำปฏิกิริยากับความชื้นหรือความชื้นตกค้างในแม่พิมพ์สามารถใช้การอบแห้งเพื่อลดปริมาณการเกิดข้อบกพร่องจากไฮโดรเจนได้ การเกิด Gas Porosity ยากต่อการแยกกับปัญหา Microshinkage เนื่องจากลักษณะที่เกิดความเสียหายใกล้เคียงกันจนอาจแยกแทบไม่ออก เพราะใน Microshinkage ก็เกิดแก๊ซด้วยเช่นเดียวกัน การเกิด Blow Hole ก็เกิดจากฟองอากาศที่มีขนาดใหญ่ที่แฝงตัวอยู่ในชิ้นงานแต่ถ้ามีขนาดเล็กจะเรียกว่า Blisters ซึ่งการเกิดปัญหาปลีกย่อยเหล่านี้ล้วนมีสาเหตุจากอากาศทั้งสิ้นและยังยากต่อการตรวจสอบด้วยตาเปล่าเนื่องจาก Blow Hole ที่ฝังอยู่ในเนื้อโลหะ แต่การตรวจสอบก็สามารถทำได้โดยการใช้คลื่นเสียง(Harmonic) Ultrasonic Magnetic หรือการ X-ray ตรวจสอบได้