วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบแม่พิมพ์ฉีดอะลูมิเนียม

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบแ่ม่พิมพ์ฉีดอะลูมิเนียม
1.ความแข็งแรงของชิ้้นงานฉีดอะลูมิเนียมในส่วนที่เป็นผนังบางในงานออกแบบนั้น ต้องใช้โครงหรือผนังในการออกแบบเพื่อเพิ่มความแข็งแรงในส่วนที่เป็นขอบภายในที่ซับซ้อนของชิ้นงาน หากออกแบบโครงหรือผนังกั้นบางเกินไปจะทำให้ชิ้นงานที่ฉีดออกมาหนาเกินขนาดกำหนดได้ หากออกแบบหนาเกินไปจะทำให้ชิ้นงานที่ฉีดออกมาขาดความแข็งแรงและบางกว่าขนาดกำหนด ปัจจัยในการออกแบบชิ้นส่วนที่ซับซ้อนจำเป็นจะต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ในการฉีดชิ้นงานให้ได้ตามที่ลูกค้ากำหนดเสมอ แต่หากกระทบหรือส่งผลต่อความแข็งแรงหรืออายุการใช้งานของแม่พิมพ์ต่ำลงก็ต้องทดลองฉีดชิ้นงานแล้วนำไปเปรียบเทียบผลว่าสมควรใช้งานต่อหรือแก้ไขแม่พิมพ์ใหม่เพื่อป้องกันปัญหาก่อนการส่งมอบแม่พิมพ์ให้ลูกค้า หากไม่สามารถออกแบบให้หนาขึ้นได้เพราะส่งผลต่อการประกอบชิ้นงาน ก็จำเป็นจะต้องทำการบำรุงรักษาแม่พิมพ์อย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันปัญหาระหว่างการผลิตชิ้นงานอะลูมิเนียม
2.เก็บส่วนที่เป็นไปได้เพื่อคงค่าความแข็งแรงของชิ้นงาน หากส่วนที่จำเป็นจะต้องคงอยู่เพื่อให้ชิ้นงานหลังการฉีดเกิดความแข็งแรงโดยไม่ส่งผลต่อการประกอบหรือปัจจัยอื่นในการผลิต ก็ไม่จำเป็นจะต้องแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา เพราะการตัดส่วนประกอบบางส่วนที่คิดว่าไม่จำเป็นออกอาจส่งผลกระทบต่อชิ้นงานตามมามากมายหลังการฉีด
3.เก็บส่วนที่เป็นโครงสร้างหลักของชิ้นงานโดยออกแบบโครงสร้างหลักให้เรียบร้อยก่อน ค่อยทำการสร้างโครงสร้างต่อๆ ไปในการออกแบบ เพื่อปรับปรุงปัจจัยต่างๆให้ดียิ่งขึ้น
4.ส่วนที่เป็น Slide Core จำเป็นจะต้องออกแบบให้มีความแม่นยำเป็นอย่างมาก เพราะหากการออกแบบส่วนนี้มีการคลาดเคลื่อนก็จะทำให้ความหนาและขนาดของชิ้นงานผิดพลาดได้
5.ในชิ้นงานที่มีรู จำเป็นจะต้องออกแบบ Core เพื่อลดปริมาณน้ำโลหะไม่ให้ไหลเข้าไปในส่วนนั้นๆ ได้ Core จะต้องมีความแข็งแรงและมีคุณสมบัติในการลื่นไหลได้ดี เพื่อป้องกันการแตกหักของชิ้นงานขณะที่ทำการเปิดแม่พิมพ์ เพราะหาก Core มีเศษอะลูมิเนียมติดระหว่างการฉีดแม่พิมพ์ จะทำให้ชิ้นงานต่อๆ มาที่ทำการฉีดเกิดการเสียหายได้
6.หลีกเลี่ยงการออกแบบ Core ที่ซับซ้อนจะทำให้มีปัญหาในการบำรุงรักษาแม่พิมพ์
7.หลีกเลี่ยงการออบแบบ Core ที่มีขนาดเล็กเกินไป เพราะจะทำให้เกิดการแตกหักได้ง่าย และเสียค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยน Core ใหม่บ่อยๆ
8.หลีกเลี่ยงการตัดในส่วนที่ไม่จำเป็นต้องตัดแต่งเหล็ก เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการผลิตแม่พิมพ์ เช่น ในส่วนที่เป็นฐานแม่พิมพ์ที่มาจากการหล่อสำเร็จรูปแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องมา Machine เพิ่มอีก
9.ออกแบบผนังและแกนให้เพียงพอ เพื่อป้องกันการเกิดการบิดตัวหรือเสียรูปของชิ้นงาน
10.การออกแบบขอบและมุมต่างๆ ของชิ้นงาน ต้องคำนวณอย่างแม่นยำเพราะในส่วนนี้จะมีค่าำกำหนดที่ละเอียดแตกต่างจากส่วนอื่นๆ และมีผลต่อการไหลตัวของน้ำโลหะอีกด้วย
11.การออกแบบ Ejector Pin จะต้องออกแบบให้แม่นยำ เพื่อป้องกันการคดงอ หรือถอดชิ้นงานไม่ออกจากแม่พิมพ์หลังการฉีด หากขนาดของ Ejector Pin ใหญ่เกินไปอาจส่งผลต่อลักษณะของชิ้นงานและเกิดการยุบตัวของโลหะมากเกินไปได้
12.หากแม่พิมพ์มีส่วนที่ต้อง Machine มากเกินไป ให้ลองปรับส่วนที่สามารถปรับได้โดยที่ไม่ต้อง Machine เพิ่ม เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการผลิตและทันต่อการส่งมอบ
13.หากออกแบบเสร็จสิ้นแล้วในส่วนที่สำคัญทั้งหมด สามารถปรับปรุงส่วนอื่นๆ เพื่อให้คุณสมบัติของแม่พิมพ์ดีขึ้น หรือเพิ่มความสามารถในการไหลตัวของน้ำโลหะและกลมกลืนกับชิ้นส่วนอื่นๆ ด้วยได้
14.Insert จะต้องอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
15.ออกแบบชิ้นส่วนเพื่อป้องกันการ Flash ของอะลูมิเนียมออกมานอกแม่พิมพ์ในขณะทำการฉีด
16.อย่าลดขนาดกำหนด(Tolerances)ต่ำกว่าที่ลูกค้ากำหนด เพราะจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นกับค่าความละเอียดที่จะต้อง Machine
17.ออกแบบแม่พิมพ์ให้ Machine น้อยที่สุด
18.กรณีที่ต้องใช้เครื่องจักร ต้องระบุให้เพียงพอต่อการตัดโลหะที่ต้องการ
19.ส่วนที่เป็นผิวหน้าหรือส่วนที่ต้องทำการ Buffer ต่อ ต้องหลีกเลี่ยงการเกิดช่องว่างระหว่างผิวและขอบตัดที่คมชัด
ในทุกข้อที่กล่าวมา เป็นปัจจัยในการสร้างแม่พิมพ์ที่ดีเพื่อให้เป็นที่พอใจของลูกค้า และลดค่าใช้จ่ายในการผลิตแม่พิมพ์ หากสามารถทำได้ครบหรือมีมากกว่าที่กล่าวมา เชื่อแน่ว่าลูกค้าจะต้องพอใจในคุณภาพของแม่พิมพ์ที่ส่งมอบแน่นอน และค่าใช้จ่ายในการผลิตก็ต่ำลงทำให้ได้รับผลกำไรมากยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น